ค้นหา
  
Search Engine Optimization Services (SEO)

สุเทพ เทือกสุบรรณ

สุเทพ เทือกสุบรรณ เป็นอดีตรองนายกรัฐมนตรีในรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ อดีตเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ และสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุราษฎร์ธานีหลายสมัย เคยดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และรัฐมนตรีช่วยว่าการหลายกระทรวง จนถึงปี 2554 เป็นเลขาธิการพรรคประชาธิปัตย์ เขาลาออกจากตำแหน่งในเดือนพฤศจิกายน 2556 เป็นเลขาธิการ กปปส. ซึ่งดำเนินการประท้วงเพื่อพยายามโค่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ในห้วงวิกฤตการณ์การเมืองไทย พ.ศ. 2556–2557 เขาเรียกร้องให้ตั้ง "สภาประชาชน" ซึ่งมิได้มาจากการเลือกตั้งเพื่อปฏิรูปประเทศก่อนเลือกตั้ง เขาเคยเรียกร้องเพื่อให้เขาสวมบทบาทเป็น "องค์อธิปัตย์" เพื่อออกกฎบัตร ตั้งรัฐบาลใหม่ และตั้งสภาประชาชน และจะประท้วงต่อหากรัฐบาลใหม่ไม่สามารถนำการปฏิรูปที่ กปปส. ชี้นำไปปฏิบัติได้สำเร็จ หลังรัฐประหารในประเทศไทย พ.ศ. 2557 เขาถูก คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) จับเป็นเวลาสี่วันก่อนถูกปล่อยตัว จากนั้นเขาบวชในเดือนกรกฎาคม 2557 วัดไตรธรรมาราม อ.เมือง จ.สุราษฎร์ธานี

สุเทพ เทือกสุบรรณเกิดวันที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2492 เป็นบุตรจรัส เทือกสุบรรณ กำนันตำบลท่าสะท้อน อำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานี และละม้าย เทือกสุบรรณ มีพี่น้องท้องเดียวกัน 6 คนคือ สุเทพ เทือกสุบรรณ ศิริรัตน์กับนางรัชนี (เป็นคู่แฝด) เชน เทือกสุบรรณ จิราภรณ์ เทือกสุบรรณ ธานี เทือกสุบรรณ และกิ่งกาญจน์ เทือกสุบรรณ

สุเทพสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาตรี ศิลปศาสตรบัณฑิต (รัฐศาสตร์) จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2515 และสำเร็จการศึกษา ระดับปริญญาโท M.A. Political Sciences จาก Middle Tennesse State University สหรัฐอเมริกา เมื่อปี พ.ศ. 2518 หลังจากสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทกลับมา สุเทพได้ลงสมัครรับเลือกตั้งเป็น กำนันตำบลท่าสะท้อน ต่อจากผู้เป็นบิดา และชนะเลือกตั้ง ทำให้ได้เป็นกำนันขณะมีอายุได้ 26 ปี

สุเทพ เทือกสุบรรณสมรสครั้งแรกกับ นางจุฑาภรณ์ เทือกสุบรรณ มีบุตรธิดา 3 คน คือ แทน เทือกสุบรรณ, น้ำตาล เทือกสุบรรณ และน้ำทิพย์ เทือกสุบรรณ ภายหลังภรรยาได้เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ต่อมาได้สมรสใหม่กับศรีสกุล พร้อมพันธุ์ อดีตสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดนครราชสีมา (อดีตภรรยาพรเทพ เตชะไพบูลย์) และได้รับบุตรของนางศรีสกุลที่เกิดจากนายพรเทพมาเป็นบุตรบุญธรรม 3 คน คือ สิทธิพัฒน์ เตชะไพบูลย์, เอกนัฎ พร้อมพันธุ์ และน.ส.ธีราภา พร้อมพันธุ์

สุเทพ เข้าสู่วงการเมืองระดับประเทศ ได้เป็น ส.ส.จังหวัดสุราษฎร์ธานี สมัยแรกเมื่อปี พ.ศ. 2522 และหลังจากนั้นสามารถชนะเลือกตั้ง ได้เป็น ส.ส. อย่างต่อเนื่องถึง 10 สมัย[ต้องการอ้างอิง] และดำรงตำแหน่งสำคัญระดับรัฐมนตรี คือ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ 2 สมัย และ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม

หลังการเลือกตั้งเป็นการทั่วไป พ.ศ. 2548 พรรคประชาธิปัตย์ได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างผู้บริหารพรรคครั้งใหญ่ สุเทพได้รับเลือกเป็นเลขาธิการพรรค และพอดีกับมีบทบาทอย่างมากในคดียุบพรรคการเมือง พ.ศ. 2549 โดยเป็นผู้รวบรวมพยานหลักฐานยื่นฟ้องพรรคไทยรักไทย[ต้องการอ้างอิง] และต่อมาพรรคไทยรักไทยถูกวินิจฉัยให้ยุบพรรค

ในการจัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ปี พ.ศ. 2551 ซึ่งสุเทพเป็นผู้ที่มีบทบาทในการประสานงานจัดตั้งรัฐบาลในครั้งนั้น จนได้รับการขนานนามว่า "ผู้จัดการรัฐบาล" และได้รับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรี ด้านความมั่นคง ต่อมาในปี พ.ศ. 2552 สุเทพ ลาออกจากการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง วินิจฉัยการถือครองหุ้นของเขาผิดรัฐธรรมนูญ แต่ยังคงดำรงตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเช่นเดิม

ต่อมาในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2553 สุเทพ ได้ลาออกจากตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีเพื่อกลับไปลงสมัครสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร จังหวัดสุราษฎร์ธานี อีกครั้งแทนตำแหน่งที่ว่างลง[ต้องการอ้างอิง] ซึ่งการเลือกตั้งดังกล่าวอยู่ในระหว่างการพิจารณายุบพรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นที่มาของการถูกมองว่าสุเทพ ต้องการเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เพื่อเตรียมตัวเป็นนายกรัฐมนตรีสำรอง ในกรณีที่ถูกยุบพรรค ภายหลังได้รับการเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแล้ว จึงได้กลับเข้ามารับตำแหน่งรองนายกรัฐมนตรีอีกครั้ง

หลังรัฐประหาร สุเทพเปิดเผยว่า ตนพูดคุยกับพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ให้ถอนรากถอนโคนอิทธิพลของทักษิณ ชินวัตรและพันธมิตรนับแต่การชุมนุมทางการเมืองใน พ.ศ. 2553 เขากล่าวว่า ได้ติดต่อเป็นประจำผ่านแอพไลน์ ก่อนรัฐประหาร พลเอก ประยุทธ์ติดต่อเขาว่า "คุณสุเทพและมวลชนผู้สนับสนุน กปปส. ของท่านเหนื่อยมากแล้ว ตอนนี้เป็นหน้าที่ของกองทัพที่ต้องรับต่อ" สุเทพว่า กองทัพตระหนักดีถึงวัตถุประสงค์ของ กปปส. ระหว่างที่กลุ่มกดดันข้าราชการและทหารให้เข้าร่วมขบวนการ กองทัพได้รับข้อเสนอของ กปปส. หลายอย่าง เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร

ศาลอาญาอนุมัติหมายจับสุเทพ เทือกสุบรรณ และพวก ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฏ และอนุมัติหมายจับแกนนำ คปท.กรณีบุกกระทรวงการต่างประเทศด้วย

หลังจากที่พนักงานสอบสวน สน.ทุ่งสองห้อง ได้ยื่นคำร้องต่อศาลขออนุมัติหมายจับนายสุเทพ เทือกสุบรรณ แกนนำกลุ่ม กปปส. ในข้อหาร่วมกันเป็นกบฏ, กระทำให้ปรากฏแก่ประชาชนด้วยวาจา หนังสือ หรือวิธีอื่นใด อันไม่ใช่เป็นการกระทำภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือ มิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็นหรือติชมโดยสุจริต เพื่อให้เกิดความปั่นป่วนหรือกระด่างกระเดื่องในหมู่ประชาชน ถึงขนาดที่จะก่อความไม่สงบขึ้นในราชอาณาจักร หรือ เพื่อให้ประชาชนล่วงละเมิดกฎหมายแผ่นดิน, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้ายขู่เข็นว่าจะใช้กำลังประทุษร้ายหรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดความวุ่นวายในบ้านเมืองโดยมีอาวุธ โดยเป็นหัวหน้า หรือเป็นผู้มีหน้าที่สั่งการ และเจ้าพนักงานสั่งให้เลิกแต่ไม่เลิก ซึ่งล่าสุดศาลได้อนุมัติหมายจับดังกล่าวแล้ว

นอกจากนี้ ศาลอาญายังได้อนุมัติหมายจับนายนิติธร ล้ำเหลือ, นายอุทัย ยอดมณี, นายรัชต์ยุตม์ ศิรโยธินภักดี และ นายพิชิต ไชยมงคล แกนนำเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศไทย หรือ คปท. ในข้อหาร่วมกันบุกรุกโดยใช้กำลังประทุษร้ายในเวลากลางคืน, มั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป และทำให้เสียทรัพย์กรณีบุกรุกกระทรวงการต่างประเทศ เมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน เป็นเหตุให้ประตูเลื่อนไฟฟ้าเสียหาย 4 บาน ซึ่งศาลได้ไต่สวนพยานที่เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ รวม 7 ปาก ขณะที่นางสาวพวงทิพย์ บุญสนอง ทนายความกลุ่ม คปท.ที่ยื่นคำร้องคัดค้านหมายจับ นำพยานเข้าเบิกความจำนวน 2 ปาก

ศาลพิเคราะห์แล้วเห็นว่าผู้ร้องมีหลักฐานพอสมควรว่า ผู้ถูกร้องทั้ง 4 คน กระทำความผิดอาญาและมีโทษจำคุก 3 ปีขึ้นไป จึงมีคำสั่งอนุมัติหมายจับผู้ต้องหาทั้ง 4 คน

ขณะเดียวกันวันที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556 เวลา 15.00 นาฬิกา ศาลได้มีคำสั่งให้เพิกถอนหมายจับ นายสุเทพ ในข้อหามั่วสุมกันตั้งแต่ 10 คนขึ้นไป ใช้กำลังประทุษร้าย ขู่เข็ญว่าจะใช้กำลังประทุษร้าย หรือกระทำการอย่างหนึ่งอย่างใดให้เกิดการวุ่นวายในบ้านเมือง ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 215 และความผิดฐานบุกรุกสถานที่ราชการ และมาตรา 216 ฝ่าฝืนคำสั่งเจ้าพนักงาน ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 365 กรณีนำมวลชนเข้าปิดล้อม ขับไล่ข้าราชการ บุกยึดสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง เป็นที่ชุมนุม ด้วย

เนื่องจากศาลเห็นว่า นายสุเทพ เป็นผู้ต้องหาตามหมายจับ ในข้อหาร่วมกันกบฏ ซึ่งมีอัตราโทษที่สูงกว่า และมีอายุความถึง 20 ปี จึงให้บังคับใช้หมายจับฉบับนี้แทนฉบับเดิม

วันที่ 15 กรกฎาคม พ.ศ. 2557 เทพไท เสนพงศ์ อดีต ส.ส. พรรคประชาธิปัตย์ ทวีตภาพและข้อความผ่านทวิตเตอร์ เปิดเผยว่า สุเทพได้ตัดสินใจบวชแบบสายฟ้าแลบแล้ว ที่วัดท่าไทร และไปจำวัดที่วัดสวนโมกข์ (สวนโมกขพลาราม) จ.สุราษฎร์ธานี โดยข้อความที่นายเทพไทได้ทวีตข้อความมีใจความว่า "ลุงกำนันตัดสินใจบวชแบบสายฟ้าแลบ ที่วัดท่าไทร และจะไปจำวัดที่วัดสวนโมกข์ ขออนุโมทนาบุญกับหลวงลุงด้วยครับ สาธุ สาธุ สาธุ อนุโมทามิ"

โดยเมื่อคืนวันที่ 14 กรกฎาคม สุเทพพร้อมญาติ 1 คน เดินทางมาพบพระเทพพิพัฒนาภรณ์ เจ้าอาวาสวัดท่าไทร และเจ้าคณะจังหวัดสุราษฎร์ธานี แจ้งความประสงค์จะขอบวชโดยบอกว่าไม่มีภาระอะไรแล้ว จะขอบวชเงียบๆ ไม่ให้ใครรู้และไม่บอกใคร

ทั้งนี้ พระเทพพิพัฒนาภรณ์ ได้โกนผมให้ตั้งแต่เมื่อช่วงกลางคืนและนอนพักที่กุฏิเจ้าอาวาสกับญาติผู้น้อง กระทั่งได้ฤกษ์อุปสมบทเมื่อเวลา 09.09 น. วันที่ 15 กรกฎาคม มีผู้อยู่ในโบสถ์ประกอบพิธีกัน 3 คน พระเทพพิพัฒนาภรณ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ และให้ฉายาว่า "ประภากะโร" แปลว่าผู้กระทำซึ่งแสงสว่าง เมื่อบวชแล้วเสร็จห่มผ้าเหลืองเดินออกประตูโบสถ์มา มีพระลูกวัดมาพบเข้าพอดีได้ขอถ่ายรูปจนมีการส่งต่อๆ กัน

วันที่ 28 กรกฎาคม 2558 สุเทพลาสิกขา และวันเดียวกัน ได้ยื่นหนังสือคัดค้านการย้ายสำนักงาน บช.ภ.8 จากอำเภอพุนพิน จังหวัดสุราษฎร์ธานีไปจังหวัดภูเก็ต ชี้ตำรวจชั้นผู้น้อยเดือดร้อน

ในส่วนหนึ่งของแผนปฏิรูปที่ดิน สปก.4-01 สุเทพมอบโฉนดที่ดิน 592 แปลงในเขาสามเหลี่ยม กมลาและนาคเกิดในจังหวัดภูเก็ตแก่เกษตรกร 489 คน ต่อมาพบว่ามีสมาชิกครอบครัวมั่งมี 11 ครอบครัวเป็นผู้รับโฉนดด้วย สุเทพปราศรัยต่อฝูงชนขนาดใหญ่ในเขตเลือกตั้งสุราษฎร์ธานีของเขาหนึ่งเดือนก่อนการอภิปรายไม่ไว้วางใจและเรียกร้องให้ผู้สนับสนุนเขาเดินขบวนมากรุงเทพมหานครหลายแสนคนเพื่อปกป้องชื่อเสียงของเขา กรณีอื้อฉาวนี้ทำให้นายกรัฐมนตรีชวน หลีกภัยแห่งพรรคประชาธิปัตย์ยุบสภาผู้แทนราษฎรในเดือนกรกฎาคม 2538 เพื่อเลี่ยงการอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในการเลือกตั้งถัดมา พรรคชาติไทยได้เสียงข้างมาก นำให้รัฐบาลอันมีพรรคประชาธิปัตย์เป็นแกนนำของชวน หลีกภัยถึงกาลสิ้นสุด

โทรเลขการทูตวิกิลีกส์จากสถานเอกอัครราชทูตสหรัฐเปิดเผยว่า สมาชิกพรรคเดียวกับเขาจำนวนมากบ่นถึงพฤติกรรมฉ้อฉลและไร้ศีลธรรมของเขามานานแล้ว

โครงการก่อสร้างอาคารที่ทำการสถานีตำรวจทดแทนของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จำนวน 396 แห่ง มูลค่า 5,848 ล้านบาท เข้าข่ายการฮั้วประมูล เพราะมีการรวบสัญญาการดำเนินการมาเป็นสัญญาเดียว จากที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติเสนอให้มีการทำเป็นหลายสัญญา

เรื่องนี้เกิดขึ้นในสมัยรัฐบาลประชาธิปัตย์ มีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เป็นนายกรัฐมนตรี มีสุเทพ เทือกสุบรรณเป็นรองนายกรัฐมนตรี ดูแลสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ซึ่งธาริต เพ็งดิษฐ์ อธิบดีกรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) ระบุการอนุมัติโครงการดังกล่าวอยู่ในความรับผิดชอบของ สุเทพ เทือกสุบรรณ ทำหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี ให้ความเห็นชอบไปเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2552 ต่อมา สุเทพยกเลิกแนวทางการจัดจ้างเป็นรายภาค ให้จัดจ้างรวมกันทั้งหมดแทน เมื่อ 11 ต.ค.2553 เลยทำให้มีบริษัทเดียวที่ชนะการประมูลการก่อสร้างในครั้งนี้ไป

ในขณะนี้ สุเทพได้ยื่นฟ้องหมิ่นประมาทต่อนาย ธาริต เพ็งดิษฐ์ ที่ศาลาอาญาต่อกรณีนี้ด้วยเห็นว่า ตนได้ดำเนินการไปตามความเห็นของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ และศาลอาญา รัชดา มีคำสั่งประทับรับฟ้องแล้ว

ในปี 2552 สุเทพถูกกล่าวหาว่าละเมิดรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยโดยถือหุ้นในบริษัทสื่อซึ่งได้รับสัมปทานจากรัฐบาล ภายใต้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 ที่สุเทพสนับสนุน ห้ามสมาชิกรัฐสภามิให้ถือหุ้นในบริษัทที่ได้รับสัมปทานจากรัฐบาล ในเดือนกรกฎาคม 2552 คณะกรรมการการเลือกตั้งประกาศว่าจะขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตัดสิทธิสุเทพ สุเทพจัดการแถลงข่าวในวันรุ่งขึ้น โดยประกาศตัดสินใจลาออกจากสมาชิกรัฐสภา การลาออกจากสมาชิกรัฐสภาไม่มีผลต่อสถานภาพรองนายกรัฐมนตรีและสมาชิกคณะรัฐมนตรีของเขา

หลังศาลอาญาวินิจฉัยหลายครั้งว่า ผู้ประท้วงเสื้อแดงที่เสียชีวิตและบาดเจ็บระหว่างความไม่สงบทางการเมืองในเดือนเมษายนและพฤษภาคม 2553 เป็นผลโดยตรงจากคำสั่งที่มอบหมายทหารโดยสุเทพ เทือกสุบรรณ ผู้อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน กรมสอบสวนคดีพิเศษ อัยการและตำรวจตกลงฟ้องเขาข้อหาฆ่าคน

ศาลยังวินิจฉัยว่า สุเทพร่วมกับอภิสิทธิ์ต้องรับผิดชอบลอบสังหารผู้สื่อข่าวชาวอิตาเลียน ฟาบิโอ โปเลงกี ซึ่งทำข่าวการประท้วงปี 2553 ด้วย

ควง อภัยวงศ์ • หลวงเสรีเริงฤทธิ์ (จรูญ รัตนกุล เสรีเริงฤทธิ์) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงกรี เดชาติวงศ์ • ทองอินทร์ ภูริพัฒน์ • พระยาประกิตกลศาสตร์ (รุณชิต กาญจนะวณิชย์) • มุนี มหาสันทนะ เวชยันตรังสฤษฏ์ • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • พระยาศรีพิชัยสงคราม (เจริญ จันฉาย) • พระยาเทพหัสดิน (ผาด เทพหัสดิน ณ อยุธยา) • ปฐม โพธิ์แก้ว • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ฟื้น รณนภากาศ ฤทธาคนี • บัญญัติ เทพหัสดิน ณ อยุธยา • พงษ์ ปุณณกันต์ • ทวี จุลละทรัพย์ • ชลี สินธุโสภณ • เชาวน์ ณศีลวันต์ • สุรัตน์ โอสถานุเคราะห์ • ศิริ สิริโยธิน • ทวิช กลิ่นประทุม • เลอศักดิ์ สมบัติศิริ • สุรกิจ มัยลาภ • สมพร บุณยคุปต์ • อมร ศิริกายะ • สมัคร สุนทรเวช • บรรหาร ศิลปอาชา • มนตรี พงษ์พานิช • นุกูล ประจวบเหมาะ • วินัย สมพงษ์ • วิชิต สุรพงษ์ชัย • วันมูหะมัดนอร์ มะทา • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • สุเทพ เทือกสุบรรณ • สุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ • พงษ์ศักดิ์ รักตพงศ์ไพศาล • ธีระ ห้าวเจริญ • สันติ พร้อมพัฒน์ • โสภณ ซารัมย์ • สุกำพล สุวรรณทัต • จารุพงศ์ เรืองสุวรรณ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • ประจิน จั่นตอง • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ

(รัฐมนตรีช่วย) วิลาศ โอสถานนท์ • หลวงศุภชลาศัย (บุง ศุภชลาศัย) • สพรั่ง เทพหัสดิน ณ อยุธยา • หม่อมหลวงอุดม สนิทวงศ์ • ชม จารุรัตน์ • สวัสดิ์ สวัสดิ์รณชัย สวัสดิเกียรติ • ปฐม โพธิ์แก้ว • ประเสริฐ สุดบรรทัด • หลวงชำนาญอรรถยุทธ์ (เอื้อน กุลไกรเวส) • ประมาณ อดิเรกสาร • ไสว ไสวแสนยากร • เฉลิมเกียรติ วัฒนางกูร • พงษ์ ปุณณกันต์ • จรูญ เฉลิมเตียรณ • เนตร เขมะโยธิน • ชลี สินธุโสภณ • อุทัย วุฒิกุล • ประจวบ สุนทรางกูร • ศรีภูมิ ศุขเนตร • อุทัย พิมพ์ใจชน • สมศาสตร์ รัตนสัค • บุญยง วัฒนพงศ์ • อนันต์ ภักดิ์ประไพ • ประทวน รมยานนท์ • บุญเกิด หิรัญคำ • ประชุม รัตนเพียร • สนอง นิสาลักษณ์ • ประสงค์ สุขุม • ประสิทธิ์ ณรงค์เดช • ประสงค์ คุณะดิลก • อมร ศิริกายะ • เทพ กรานเลิศ • พล เริงประเสริฐวิทย์ • ทินกร พันธุ์กระวี • ยศ อินทรโกมาลย์สุต • ชาญ มนูธรรม • ชุมพล ศิลปอาชา • วีระ มุสิกพงศ์ • มนตรี พงษ์พานิช • บุญเทียม เขมาภิรัตน์ • สนั่น ขจรประศาสน์ • สุรพันธ์ ชินวัตร • นิคม แสนเจริญ • เอนก ทับสุวรรณ • สุวัจน์ ลิปตพัลลภ • เจริญ เชาวน์ประยูร • หม่อมหลวงเชิงชาญ กำภู • วิโรจน์ แสงสนิท • สุเทพ เทพรักษ์ • เสนาะ เทียนทอง • กำชัย เรืองกาญจนเศรษฐ์ • จรัส พั้วช่วย • ไสว พัฒโน • ทวี ไกรคุปต์ • สมศักดิ์ เทพสุทิน • พินิจ จารุสมบัติ • สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ • เดช บุญ-หลง • สมบัติ อุทัยสาง • พีระพงศ์ ถนอมพงษ์พันธุ์ • ชัยภักดิ์ ศิริวัฒน์ • พิมพา จันทร์ประสงค์ • ดิเรก เจริญผล • อร่าม โล่ห์วีระ • สมพงษ์ อมรวิวัฒน์ • ประดิษฐ์ ภัทรประสิทธิ์ • สนธยา คุณปลื้ม • เผดิมชัย สะสมทรัพย์ • โชคสมาน สีลาวงษ์ • อิทธิ ศิริลัทธยากร • ไชยา สะสมทรัพย์ • จองชัย เที่ยงธรรม • ประชา มาลีนนท์ • พงศกร เลาหวิเชียร • นิกร จำนง • พิเชษฐ สถิรชวาล • วิเชษฐ์ เกษมทองศรี • อดิศร เพียงเกษ • ภูมิธรรม เวชยชัย • ชัยนันท์ เจริญศิริ • สรรเสริญ วงศ์ชะอุ่ม • ทรงศักดิ์ ทองศรี • อนุรักษ์ จุรีมาศ • โสภณ ซารัมย์ • วราวุธ ศิลปอาชา • ประจักษ์ แกล้วกล้าหาญ • เกื้อกูล ด่านชัยวิจิตร • สุชาติ โชคชัยวัฒนากร • ชัจจ์ กุลดิลก • กิตติศักดิ์ หัตถสงเคราะห์ • ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ • พฤณท์ สุวรรณทัต • ประเสริฐ จันทรรวงทอง • พ้อง ชีวานันท์ • อาคม เติมพิทยาไพสิฐ • ออมสิน ชีวะพฤกษ์


 

 

รับจำนำรถยนต์ รับจำนำรถจอด

เป็นต่อ ขั้นเทพ เป็นข่าว ซีรีส์ คณะนิเทศศาสตร์ ซิทคอม ยีนเด่น (ละครโทรทัศน์) เฮง เฮง เฮง เป็นต่อ นักเขียนบท เจ้าชายฌัก รัชทายาทแห่งโมนาโก กาญจน์เกล้า ด้วยเศียรเกล้า วอลเลย์บอลชายทีมชาติไทย ปิยะรัฐ ตุ้นทัพไทย อรรถพร ธีมากร ไมเคิล คลาร์ก ดันแคน เจ้าพงศ์แก้ว ณ ลำพูน ระบบทศนิยมดิวอี้ ตึกนิวยอร์กเวิลด์ เทพมารสะท้านภพ ไทเก็ก หมัดทะลุฟ้า สุภาพบุรุษตระกูลหยาง ตำนานเดชนางพญางูขาว เจิ้ง เจียอิ่ง อู๋ จัวซี กู่ เทียนเล่อ มังกรคู่สู้สิบทิศ แม่พระปฏิสนธินิรมล เจมส์ ฟิกก์ ธัญยกันต์ ธนกิตติ์ธนานนท์ โกะโร อินะงะกิ ฉัตรชัย ดุริยประณีต ธงไชย แมคอินไตย์ คิม เบซิงเงอร์ จิม มอร์ริสัน เดวิด คาร์ราดีน บ๊อบ อารัม สมเด็จพระราชินีนาถคริสตินาแห่งสวีเดน พรรคประชาชนบรูไน แอมโบรสแห่งมิลาน รังสี ทัศนพยัคฆ์ คิเคโร เจ้าหญิงคาทารีนา-อะมาเลีย เจ้าหญิงแห่งออเรนจ์ บุษกร ตันติภนา จอห์น เทอร์รี เฟอร์นันโด วาร์กัส ช่วง มูลพินิจ พิศมัย วิไลศักดิ์ พระมเหสีจองซอง การโจมตีท่าเรือเพิร์ล กองทัพเรือจักรวรรดิญี่ปุ่น Grammy Awards Allmusic ซิงเกิล นักธุรกิจ แร็ปเปอร์ เลสลี นีลเซน มะสึโอะ บะโช นันทนัช โล่ห์สุวรรณ ผู้รักษาประตู สจวร์ต เทย์เลอร์ แดเนียล เฮนนีย์ แอนนา นิโคล สมิธ หลวงพ่อเกษม เขมโก ลี กวน ยู คริส โจนนาว ซิลเวอร์แชร์ เค.แมกซ์ ซินบี แตวุง เค-วัน นักมวยไทย อักษรฮันกุล นักบุญเดนิส ออสการ์ ชินด์เลอร์ เช เกบารา สมเด็จพระสันตะปาปาปิอุสที่ 12 สมเด็จพระเจ้าอเล็กซานเดอร์ที่ 1 แห่งยูโกสลาเวีย หทัยภัทร สมรรถวิทยาเวช พชร ธรรมมล คนึงพิมพ์ พรมกร แบรนดอน เราธ์ แผ่นดินถล่ม สิ่งก่อสร้างที่สูงที่สุดในโลก อนุสาวรีย์วอชิงตัน อำเภอเมืองสุพรรณบุรี ปริ๊นซ์ ออฟ เทนนิส แม่พระแห่งลูกประคำ เลย์ เซบัสเตียน โกอาเตส ตะวัน จารุจินดา แอรอน แอชมอร์ ชอว์น แอชมอร์ ชิลเบร์ตู ซิลวา ภาคภูมิ แจ้งโพธิ์นาค ซามี ฮูเปีย โทนี แบรกซ์ตัน ไซมอน โคเวลล์ วลาดิมีร์ ปูติน พระเจ้าเฟรเดอริกที่ 1 แห่งเดนมาร์ก อาคารรัฐสภาไทย สาธารณรัฐอินโดนีเซีย

 

1
2
3
4
5
6
7
8
9
10
11
12
13
14
15
16
17
18
19
20
21
22
23
24
25
26
27
28
29
30
31
32
33
34
35
36
37
38
39
40
41
42
43
44
45
46
47
48
49
50
51
52
53
54
55
56
57
58
59
60
61
62
63
64
65
66
67
68
69
70
71
72
73
74
75
76
77
78
79
80
81
82
83
84
85
86
87
88
89
90
91
92
93
94
95
96
97
98
99
100
101
102
103
104
105
106
107
108
109
110
111
112
113
114
115
116
117
118
119
120
121
122
123
124
125
126
127
128
129
130
131
132
133
134
135
136
137
138
139
140
141
142
143
144
145
146
147
148
149
150
151
152
153
154
155
156
157
158
159
160
161
162
163
164
165
166
167
168
169
170
171
172
173
174
175
176
177
178
179
180
181
182
183
184
185
186
187
188
189
190
191
192
193
194
195
196
197
198
199
200
201
202
203
204
205
206
207
208
209
210
211
212
213
214
215
216
217
218
219
220
221
222
223
224
225
226
227
228
229
230
231
232
233
234
จำนำรถราชบุรี รถยนต์ เงินด่วน รับจำนำรถยนต์ จำนำรถยนต์ จำนำรถ 23406